วิธีปรับเปลี่ยนการขายอาหารให้อยู่รอด ในช่วงวิกฤติไวรัสโควิด -19

ปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ส่งผลกระทบต่อวิถีการดำเนินชีวิตของผู้คนในทุก ๆ ด้านการหยุดงานหรือทำงานอยู่บ้านที่เรียกว่า “Work From Home” เพื่อรักษาระยะห่างทางสังคม และเป็นไปตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื่อไวรัสโควิด -19 ส่งผลกระทบโดยตรงต่อธุรกิจร้านอาหาร การขายอาหารเดลิเวอรี่ คือวิธีปรับเปลี่ยนการขายอาหารให้อยู่รอด แต่จะทำอย่างไรให้ขายได้และขายดี บทความนี้มีคำแนะนำค่ะ

ปัญหาของธุรกิจร้านอาหารในช่วงวิกฤติไวรัสโควิด -19

ปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจร้านอาหารในช่วงวิกฤตไวรัสโควิด – 19 มีหลากหลายรูปแบบ ทั้งปัญหาการบริหารจัดการ และการปฏิบัติตามมาตรการของภาครัฐ เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด เช่น

  • การจำกัดลูกค้าที่เข้ามาบริโภคอาหารภายในร้าน ทำให้ต้องต้องลงทุนเพิ่มหรือมีค่าใช้จ่ายในการออกแบบตกแต่งหรือปรับเปลี่ยนอุปกรณ์โต๊ะเก้าอี้ภายในร้านให้สอดคล้องกับมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัส
  • ขาดรายได้ จากการปิดร้านเมื่อมีมาตรการการล็อกดาวน์ยกระดับคุมเข้มการระบาด ส่งผลให้ร้านอาหารทั่วไป รวมถึงร้านอาหารที่ตั้งอยู่ในห้างสรรพสินค้าหรือศูนย์การค้าต้องปิดให้บริการชั่วคราวตามนโยบายภาครัฐ เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด ทำให้ผู้ประกอบการขาดรายได้แต่ยังต้องแบกรับค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เช่น ค่าจ้างแรงงาน หรือค่าวัตถุดิบที่ลงทุนไปแล้วไม่ได้นำมาใช้เนื่องจากต้องปิดการให้บริการตามมาตรการของภาครัฐ
  • การจัดเตรียมพื้นที่สำหรับการให้บริการ ที่ผู้บริโภครวมทั้งพนักงานหรือผู้ให้บริการภายในร้านต้องมีการเว้นระยะห่างระหว่างกัน 1 เมตร นอกจากทำให้ลูกค้ากลุ่มใหญ่ ๆ ไม่สามารถเข้ามาใช้บริการได้ เช่น การจัดเลี้ยงต่าง ๆ ลูกค้าส่วนหนึ่งยังปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารนอกบ้าน โดยการเลือกสั่งอาหารเดลิเวอรี่ ไปรับประทานที่บ้านแทน
  • การกำหนดทางเข้าออกร้านให้สะดวกต่อการวัดอุณหภูมิก่อนเข้าไปรับประทานอาหารในร้าน พร้อมจัดเจลแอลกอฮอล์บริการให้ลูกค้าล้างมือทุกคน ซึ่งบางร้านอาจมีพื้นที่จำกัดหรือไม่สามารถกำหนดจุดเพื่อตรวจวัดอุณหภูมิได้ 
  • วัตถุดิบมีราคาแพง ซึ่งเป็นปัจจัยมาจากวิกฤตไวรัสโควิด – 19 แต่ไม่สามารถขึ้นราคาค่าอาหารได้เพราะอาจส่งผลกระทบต่อยอดขายได้ เนื่องจากการแข่งขันด้านการตลาดสูงมาก ทำให้ผู้ประกอบการต่างก็ต้องประคับประคองธุรกิจให้อยู่รอดในช่วงวิกฤตนี้

วิธี ปรับเปลี่ยนการขายอาหารให้อยู่รอด ในช่วงวิกฤติไวรัสโควิด –19

ปัญหาของร้านอาหารในช่วงวิกฤตไวรัสโควิด – 19 ก็คือความเสี่ยงในการลงทุน ที่นอกจากต้องปฏิบัติตามมาตรการของภาครัฐ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดไวรัส เช่น จำกัดจำนวนโต๊ะและจำนวนลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการภายในร้าน กำหนดเวลาจำหน่ายและการนั่งรับประทานในร้าน ในบางช่วงที่มีการแพร่ระบาดอย่างรุนแรงและกำหนดให้เป็นพื้นที่สีแดง ร้านอาหารอาจสั่งปิดให้บริการชั่วคราว ดังนั้นเพื่อให้ธุรกิจร้านอาหารสามารถอยู่รอด ในช่วงวิกฤติไวรัสโควิด -19 มีวิธีปรับเปลี่ยนการขายหรือมีแนวทางที่น่าสนใจ ดังนี้

  1. สร้างความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัยให้กับลูกค้า

ธุรกิจร้านอาหารไม่ว่าขนาดเล็ก ขนาดกลาง หรือขนาดใหญ่ที่สามารถจัดเลี้ยงหรือให้บริการลูกค้าที่เข้ามานั่งรับประทานอาหารในร้านได้มากกว่า  100 คน เช่น ร้านบุฟเฟ่ต์หมูกระทะ จิ้มจุ่ม หรือทะเลเผา ต้องบริหารจัดการรูปแบบการให้บริการให้เป็นไปตามมาตรการของภาครัฐ เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด และเป็นการสร้างความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัยให้กับลูกค้าที่เข้ามารับประทานอาหารในร้าน เช่น

  • จำกัดจำนวนคนเข้ามานั่งรับประทานในร้านตามจำนวนโต๊ะที่กำหนดไว้ 
  • จัดที่นั่งรับประทานอาหารให้มีระยะห่างระหว่างบุคคลอย่างน้อย 1 เมตร
  • กำหนดทางเข้าหรือทางออกอย่างชัดเจน จัดเจลแอลกอฮอลล์ไว้บริการ รวมทั้งมีการวัดอุณหภูมิก่อนใช้บริการภายในร้าน
  • อนุญาตให้เฉพาะคนที่มีหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า เข้าใช้บริการภายในร้านเท่านั้น
  1. ปรับเปลี่ยนรูปแบบและเพิ่มช่องทางการจำหน่าย

การรักษาระยะห่างตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ของภาครัฐ ทำให้พฤติกรรมการบริโภคของผู้คนในสังคมเปลี่ยนไป นิยมซื้ออาหารกลับไปทานที่บ้านหรือสั่งซื้ออาหารเดลิเวอรี่ ที่มีบริการจัดส่งถึงมือลูกค้าเพื่อลดการเดินทางที่ต้องพบปะผู้คน ดังนั้นการปรับเปลี่ยนรูปแบบและเพิ่มช่องทางการจำหน่ายจึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่ช่วยให้ธุรกิจร้านอาหารสามารถประคองตัวอยู่ในได้ในช่วงวิกฤต เช่น

  • ผู้ประกอบการร้านอาหารที่เปิดขายอยู่ในศูนย์อาหารของห้างสรรพสินค้า เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงช่วงล็อกดาวน์ อาจปรับเปลี่ยนเป็นการเช่าพื้นที่ร้านอาหารนอกห้างฯ และให้บริการเดลิเวอรี่ควบคู่กันไปด้วยเป็นการปรับตัวสู้วิกฤตโควิดได้อย่างน่าสนใจ
  • เพื่อเป็นการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด การประกาศล็อกดาวน์เกิดขึ้นได้เสมอ ผู้ประกอบการร้านอาหาร อาจปรับเปลี่ยนจากการขายแบบมีหน้าร้านมาเป็นการขายแบบออนไลน์ผ่านฟู๊ดเดลิเวอรี่ นอกจากไม่ต้องเสี่ยงต่อการสั่งปิดร้านชั่วคราวในช่วงประกาศล็อกดาวน์แล้ว ยังประหยัดค่าใช้จ่ายในการเช่าพื้นที่ ประหยัดค่าจ้างแรงงาน  เพราะสามารถทำครัวภายในบ้านและใช้แรงงานคนในครอบครัวได้โดยไม่ต้องจ้างแรงงาน
  • สำหรับผู้ประกอบการที่มีหน้าร้านเป็นของตนเอง อาจปรับเปลี่ยนเป็นการขายเฉพาะให้ซื้อกลับไปรับประทานที่บ้านควบคู่กันไปกับการขายอาหารเดวิเลอรี่ ข้อดีในข้อนี้ก็คือสามารถรักษาฐานลูกค้าประจำไว้ได้ ไม่ต้องลงทุนเพื่อตกแต่งร้านให้เป็นไปตามมาตรการของภาครัฐในการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื่อไวรัสโควิด-19  
  1. มีกลยุทธ์ด้านการตลาดที่เหมาะสม

การขายอาหาร เป็นธุรกิจที่มีการแข่งขันด้านการตลาดสูงมาก เพราะอาหารเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องบริโภค และยิ่งในช่วงวิกฤติไวรัสโควิด – 19 การใช้ชีวิตของผู้คนในสังคมเปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งพฤติกรรมการบริโภคที่เน้นความสะดวกสบาย หลีกเลี่ยงการเดินและรักษาระยะห่างเพื่อป้องกันตนเองจากการแพร่ระบาดของไวรัส ผู้ประกอบการร้านอาหารจึงต้องปรับตัวและมีกลยุทธ์ด้านการตลาดที่เหมาะสม เช่น

  • กลยุทธ์ด้านการให้บริการ คุณภาพของการบริการต้องแตกต่างและโดดเด่นเพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า ไม่ว่าจะเปิดขายแบบมีหน้าร้านหรือขายอาหารเดลิเวอรี่ ที่บริการจัดส่งให้ถึงมือลูกค้า กลยุทธ์ด้านการให้บริการที่ดี ผู้ประกอบการจะต้องมีทักษะทักษะความรู้ ความสามารถ ในการใช้อุปกรณ์และเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อให้สามารถสู้กับคู่แข่งด้านการตลาดได้ และยังสามารถสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าในความสะดวกรวดเร็ว
  • กลยุทธ์ด้านความปลอดภัย ความวิตกกังวลเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้ผู้บริโภคส่วนใหญ่นิยมทำอาหารรับประทานที่บ้าน หรือใช้บริการอาหารเดลิเวอรี่ให้จัดส่งถึงบ้าน แต่ก็ยังมีลูกค้าบางกลุ่มที่ยังต้องเดินทางไปทำงานและใช้บริการจากร้านอาหาร กลยุทธ์ด้านความปลอดภัย สิ่งแรกได้แก่การปฏิบัติตามมาตรการของภาครัฐอย่างเคร่งครัด ดังนี้
  • เขียนป้ายให้ลูกค้าสวมหน้ากากอนามัย หรืออนุญาตให้เฉพาะคนที่มีหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า เข้าใช้บริการเท่านั้น
  • กำหนดจุดหรือมีพื้นที่มองเห็นได้ชัดเจน สำหรับจัดเจลแอลกอฮอล์บริการให้กับลูกค้า
  • สำหรับลูกค้าที่มาซื้อหรือสั่งอาหารกลับไปรับประทานที่บ้าน ควรกำหนดพื้นที่นั่งรอโดยเว้นระยะห่างระหว่างรอสั่งอาหารให้มีระยะห่าง 1-2 เมตร
  • กำหนดให้มีทางเลือกในการชำระเงิน เช่น ชำระผ่าน ระบบ e-payment ชำระด้วยเงินสด โดยไม่สัมผัสมือโดยตรง เช่น การมีถาดรับเงิน หรือ ชำระด้วยบัตรเครดิต โดยไม่สัมผัสมือโดยตรง เช่น การมีถาดรับบัตรเครดิต
  • จัดที่นั่งรับประทานอาหารให้มีระยะห่างระหว่างบุคคลอย่างน้อย 1 เมตร และควรจำกัดการนั่งรับประทานอาหารร่วมโต๊ะไม่เกิน 2-4 คน
  • กรณีเป็นร้านอาหารขนาดใหญ่ เช่น ร้านปิ้งย่าง หรือร้านบุฟเฟ่ต์หมูกระทะ ที่มีพนักงานหรือผู้ให้บริการหลายคน ควรจัดที่พักสำหรับพนักงานเพื่อไม่ให้เกิดการนั่งรวมกลุ่ม
  • กลยุทธ์ด้านภาพลักษณ์ รสชาติของอาหารถือเป็นจุดขายสำคัญของร้านอาหาร แต่ในยุควิกฤตไวรัสโควิด รสชาติดีเพียงอย่างเดียวอาจยังไม่เพียงพอ เพราะรูปแบบการขายอาหารเปลี่ยนไป เช่น การขายอาหารเดลิเวอรี่ ลูกค้าส่วนใหญ่นิยมสั่งทางออนไลน์บางคนอาจเลือกสั่งจากรูปภาพและหน้าตาอาหารการตกแต่งเมนูอาหารให้น่ารับประทาน รวมถึงการเลือกกล่องบรรจุอาหารที่ด้านหน้าเป็นพลาสติกใส คือกลยุทธ์สำคัญที่ช่วยโชว์ภาพลักษณ์หรือหน้าตาอาหารได้เป็นอย่างดี
  • กลยุทธ์ด้านบรรจุภัณฑ์  การขายอาหารหรือขายสินค้าประเภทของกินในช่วงวิกฤตไวรัสโควิด-19 นอกจากการขายอาหารแบบเดลิเวอรี่แล้ว ลูกค้าส่วนใหญ่นิยมซื้ออาหารกลับไปรับประทานที่บ้าน การเลือกใช้กล่องบรรจุอาหารพร้อมพิมพ์โลโก้ ถือเป็นกลยุทธ์สำคัญที่นอกจากทำให้ลูกค้าจดจำร้านได้ง่าย การระบุรายละเอียดพร้อมช่องทางการติดต่อไว้ที่กล่องอาหารยังเป็นการประชาสัมพันธ์ร้าน ทำให้เพิ่มฐานลูกค้าใหม่ ๆ ได้โดยไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายในการโฆษณา

สรุป ในช่วงวิกฤตไวรัสโควิด – 19 เป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อวิถีการใช้ชีวิตของผู้คนเกือบจะทุก ๆ ด้าน ธุรกิจขายอาหารและสินค้าประเภทของกินแม้จะเป็นสิ่งที่ผู้คนต้องบริโภค แต่การรักษาระยะห่างทางสังคมเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัส นอกจากทำให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนไปและยังส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้ประกอบการร้านอาหารซึ่งนอกจากทำให้รายได้ลดลง ยังเสี่ยงต่อมาตรการการล็อกดาวน์ที่ภาครัฐต้องยกระดับเพื่อคุมเข้มการระบาดของไวรัส การปรับเปลี่ยนการขายอาหารให้อยู่รอดในยุคนี้ก็ก็คือการสร้างความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัยให้กับลูกค้า โดยปฏิบัติมาตรการของภาครัฐอย่างเคร่งครัด ปรับเปลี่ยนรูปแบบและเพิ่มช่องทางการจำหน่าย เช่น การขายอาหารเดลิเวอรี่ และมีกลยุทธ์ด้านการตลาดที่เหมาะสม การเลือกใช้กล่องบรรจุอาหารพร้อมพิมพ์โลโก้ เป็นหนึ่งในหลาย ๆ กลยุทธ์ที่น่าสนใจ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และโฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ Cookies ที่เราใช้งานได้แก่ Google Analytics และ Facebook Pixel

บันทึกการตั้งค่า