ปัญหาขยะที่เพิ่มมากขึ้น สามารถลดลงได้ด้วย 7R

ปัญหาขยะที่เพิ่มมากขึ้น สามารถลดลงได้ด้วย 7R

ปัญหาขยะที่เกิดจากการบริโภคของมนุษย์นั้นเพิ่มสูงขึ้นทุกปี ส่งผลให้ขยะที่ต้องถูกทิ้งนั้นก็เพิ่มมากขึ้นในปี 2564 ได้มีขยะมูลฝอยสูงถึง 24.98 ล้านตัน ซึ่งหากดูเฉพาะในกรุงเทพก็มียอดทิ้งขยะเฉลี่ยสูงถึง 9,000-10,000 ตันต่อวัน และในจำนวนทั้งหมดของขยะมูลฝอยนี้สามารถนำกลับไปใช้ประโยชน์ได้เพียง 8.51 ล้านตัน เท่านั้น

ส่วนสาเหตุที่ขยะเหล่านี้เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ส่วนหนึ่งมาจากสถานการณ์โรคระบาดในปัจจุบัน ทำให้ผู้คนต่างต้องเน้นไปที่การทำงานแบบ Work from home ซึ่งส่งผลให้ปริมาณขยะจำพวกพลาสติกที่ใช้งานครั้งเดียวแล้วทิ้งนั้นสูงขึ้น เช่น กล่องโฟม ถุงพลาสติก กล่องพลาสติก ซองเครื่องปรุง ซองน้ำจิ้ม ช้อม ส้อม มีดพลาสติก และแก้วพลาสติก เป็นต้น

ซึ่งหากนับแค่พลาสติกที่แต่ก่อนนั้นจะมีจำนวนเฉลี่ย 2 ล้านตันต่อปี ถูกเพิ่มสูงขึ้นถึง 30% โดยมีอัตราเฉลี่ยในปี 2564 สูงถึง 6,500 ตันต่อวัน ตัวเลขเหล่านี้บ่งชี้ว่าหากเราไม่ร่วมมือกัน ขยะพลาสติกต่างๆนี้ก็มีโอกาสที่จะรอดพ้นการคัดกรอง การกำจัดทิ้งอย่างถูกวิธีและมันจะตกไปอยู่ในแม่น้ำ ลำธาน และทะเล ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสัตว์ชนิดต่างๆโดยตรง แต่เราสามารถช่วยกันลดปัญหาขยะเหล่านั้นได้ด้วยหลักการ 7R ที่เป็นวิธีการง่ายๆสามารถทำได้ทุกคน โดยหลักการนี้จะมีอะไรบ้างนั้นไปดูกัน

หลักการ 7R คือ

หลักการ 7R เป็นหลักการที่จะช่วยให้ปัญหาขยะล้นโลกลดลง โดยสามารถทำได้ด้วยตัวคุณเองผ่านวิธีการต่างๆ 7 ข้อเดียวกัน ทั้งนี้หลักการ 7R ยังเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจหมุนเวีย (Circular Economy) ซึ่งจะช่วยลดขยะได้ทันตาหากเราทุกคนนำหลักการนี้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน

1.Reduce (ลดการใช้งาน)

Reduce คือการที่เราเลือกที่จะไม่ใช้งาน หรือลดการใช้งานขยะจำพวกพลาสติกแบบใช้งานครั้งแล้วทิ้ง ตัวอย่างเช่นหากต้องการไปซื้อของที่ซุปเปอร์มาเก็ต ตลาด ร้านค้า หรือที่ใดก็ตามก็ให้พกถุงผ้า ขวดน้ำ หรือปิ่นโตนำติดตัวไปด้วย เพื่อที่จะไม่ต้องรับถุงพลาสติก กล่องโฟม หรือบรรจุภัณฑ์อื่นๆที่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมกลับมาบ้าน ซึ่งหากในกรณีสั่งอาหารก็ควรเลือกติ๊กในช่องไม่รับช้อน ส่อมพลาสติกเพิ่มเติมก็เป็นการช่วยลดการใช้งานไปได้อีกทางหนึง

นอกจากนี้การ Reduce ยังรวมไปถึงการเลือกซื้ออาหาร สินค้าต่างๆให้พอประมาณกับที่ใช้งาน และรับประทาน ทำให้ไม่เกิดการเน่าเสียจากอาหารที่กินไม่ทัน รวมไปถึงยังจะช่วยลดขยะที่ไม่จำเป็นภายในบ้ายของคุณได้อีกด้วย!

2.Reuse (ใช้ซ้ำ)

Reuse คือการใช้งานซ้ำสำหรับอุปกรณ์ที่สามารถใช้ได้อยู่ หรือ D.I.Y. ดัดแปลงสิ่งของที่ต้องทิ้งให้กลับมาใช้งานใหม่ได้ ยกตัวอย่างเช่น กระดาษที่ถูกพิมพ์ลงไปด้านหนึ่งแล้ว ก็สามารถพิมอีกด้านได้ หรือขวดน้ำพลาสติกที่กำลังจะทิ้งนั้นก็สามารถนำมาทำเป็นกระถางต้นไม้ได้

นอกจากตัวอย่างที่กล่าวมาแล้วยังมีวิธี D.I.Y. อุปกรณ์ของใช้ต่างๆมากมายที่จะทำให้มันกลับมาเกิดประโยชน์ใหม่ และจะทำให้สิ่งของเหล่านั้นไม่ต้องถูกทิ้งไปเป็นขยะ รวมไปถึงคุณจะยังได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์อีกด้วย

3.Recycle (การนำกลับมาใช้งานใหม่)

Recycle เป็นการที่นำวัสดุ สินค้า บรรจุภัณฑ์ หรืออะไรก็ตามที่หมดอายุการใช้งาน หรือพังแล้วนั้นให้กลับมาใช้งานใหม่ได้ผ่านการแปรรูป หรือแปรสภาพนั่นเอง ซึ่งส่วนวิธีการแปรรูปนั้นอาจจะยากเกินกำลังของเรา แต่เดี่ยวก่อนไม่ใช่ว่าขยะทุกชนิดจะสามารถนำมารีไซเคิลใหม่ได้ 100% เพราะฉะนั้นที่อยากพูดถึงคือให้เลือกซื้อ เลือกใชสินค้า หรือบรรจุภัณฑ์จำพวก Food grade ที่เป็นบรรจุภัณฑ์รักษ์โลกสามารถย่อยสลายและแปรรูปได้

โดยสินค้าจำพวกแปรรูปได้นี้มีตั้งแต่จำพวกสินค้ากระดาษ หรือบรรจุภัณฑ์จากกระดาษ และหากตัวสินค้า หรือบรรจุภัณฑ์เป็นแบบพลาสติกนั้นก็ให้เลือกไปที่พลาสติดแบบ HDPF หรือ PET เพราะจะเป็นพลาสติกที่สามารถนำไปรีไซเคิลใช้งานใหม่ได้นั่นเอง

4.Replace (แทนที่)

Replace คือการแก้ไขปัญหาด้วยการแทนทีบรรจุภัณฑ์แบบเก่าๆจำพวกพลาสติก กล่องโฟม หรือถุงพลาสติก ซึ่งล้วนเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายได้ยาก เปลี่ยนใหม่แทนที่ด้วยบรรจุภัณฑ์รักษ์โลกชนิดต่างๆ เช่น กล่องกระดาษใส่อาหาร ถุงกระดาษคราฟท์ แก้วกระดาษใส่กาแฟ และอื่นๆ

แน่นอนว่าบรรจุภัณฑ์รักษ์โลกเหล่านี้จะมีความสามารถในการย่อยสลายได้องตามธรรมชาติ และยังสามารถนำไปรีไซเคิลได้ 100% ทำให้ไม่เกิดเป็นขยะเน่าเสีย หรือเกิดเป็นมลพิษทางขยะอย่างแน่นอน

5.Refill (เติมได้)

Refill คือการเลือกซื้อสินค้าแบบเติมได้ยกตัวอย่างเช่นเมื่อเราใช้นำยาล้างจานหมด ก็ควรเก็บขวดน้ำยาล้างจานไว้ แล้วไปซื้อน้ำยาล้างจานชนิดถุงใหญ่มาเพื่อเติมลงไปในขวดแทน สิ่งนี้จะทำให้ลดปริมาณขยะจากการที่เราต้องซื้อบรรจุภัณฑ์ขวดเล็กซ้ำๆบ่อยครั้งแล้วนั้น ยังจะช่วยลดรายจ่ายจากการซื้อผลิตภัณฑ์ชิ้นใหญ่ทีเดียวนั่นเอง

6.Repair (ซ่อมแซม)

Repair ตรงตามที่เขียนไว้นั่นคือการซ่อมแซมสิ่งของต่างๆภายในบ้านก่อนทุกครั้ง เพราะด้วยความที่หลายคนมักจะเลือกซื้อใหม่ทันทีหากมีของใช้ในบ้านเสีย ทำให้จำนวนขยะก็เพิ่มมากขึ้นตามของใช้ที่ซื้อมาใหม่

แต่หากคุณลองซ่อมแซมด้วยตัวเอง หรือลองส่งสิ่งของนั้นไปซ่อมกับร้าน สิ่งของเหล่านั้นก็อาจจะยังใช้งานได้อยู๋ ซึ่งนอกจากจะช่วยลดปัญหาขยะที่เพิ่มมากขึ้นแล้ว ยังจะช่วยลดรายจ่ายจากการที่ไม่ต้องซื้อของใช้เหล่านั้นใหม่ได้อีกด้วย

7.Return (ส่งคืน)

Return คือสิ่งสุดท้ายที่ผมจะขอพูดถึงในเรื่องของ 7R โดยการ return นั้นเป็นการนำบรรจุภัณฑ์ที่ใช้อยู่ส่งคืนให้กับผู้ผลิต ยกตัวอย่างเช่น ขวดแก้ว ขวดโซดา ขวดน้ำอัดลมหลายๆยี่ห้อก็สามารถเลือกส่งคืนแก่ร้านค้าที่ซื้อมาได้ และเมื่อร้านค้าเหล่านั้นได้รับขวดแล้วก็จะนำส่งคืนให้แก่ผู้ผลิตอีกทีหนึง

นอกจากนี้บางพื้นที่ยังมีตู้บริการส่งคืนขวดน้ำพลาสติกอยู๋ตามจุดต่างๆ หรือหากคิดว่าวิธีการนี้ยุ่งยากและขี้เกียจทำ ก็สามารถแก้ไขปัญหาได้ง่ายๆเพียงแค่คุณเลือกใช้งานบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หรือที่เรียกกันว่าบรรจุภัณฑ์รักษ์โลกแทนก็ได้

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และโฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ Cookies ที่เราใช้งานได้แก่ Google Analytics และ Facebook Pixel

บันทึกการตั้งค่า