กล่องกระดาษ vs กล่องโฟม บรรจุภัณฑ์ทั้งสองประเภทมีข้อดีและข้อเสียต่าง กันอย่างที่จะเห็นได้เด่นชัดก็คือวัสดุที่ใช้ในการผลิต กระดาษทำมาจากเยื่อไม้ที่เป็นวัสดึจากธรรมชาติ โฟม ทำมาจากเป็นพลาสติกที่นำมาผ่านกระบวนการขึ้นรูปโดยใช้สารช่วยขยายตัว ย่อยสลายได้ยากกว่ากล่องกระดาษอีกทั้งภาชนะทั้งสองประเภทยังมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันอย่างไร บทความชุดนี้ไปหาคำตอบกันครับ
ข้อดีและข้อเสีย กล่องกระดาษ vs กล่องโฟม
บรรจุภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมในการบรรจุสิ่งของเพื่อป้องกันความเสียหาย ขณะขนส่งหรือช่วยรักษาคุณภาพของสินค้าไว้นั้น คงหนีไม่พ้นกล่องกระดาษ และ กล่องโฟม ดังนั้นสำหรับผู้ที่สนใจว่ากล่องทั้ง 2 ประเภทนี้มีข้อดี-ข้อเสียอย่างไรเพื่อประกอบการตัดสินใจในการเลือกใช้และเป็นความรู้ ตามตารางด้านล่างนี้เลยครับ
กล่องกระดาษ มีข้อดีและข้อเสียอย่างไร ดังนี้
ข้อดี | ข้อเสีย |
---|---|
เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ย่อยสลายง่าย | โดนของเหลวอาจจะทำให้เปื่อยยุ่ยได้ |
สามารถนำกลับมารีไซเคิล ใช้ใหม่ได้ 100 % | เสี่ยงต่อแมลง |
ทำมาจากวัสดุจากธรรมชาติ | ไม่สามารถเก็บอุณภูมิได้ดี |
ใช้บรรจุสินค้าได้หลากหลายประเภท | อาจเกิดการป่วยยุ่ยง่าย หากสัมผัสของเหลวเป็นเวาลานาน |
สามารถขึ้นรูปได้รวดเร็ว | เสี่ยงต่อเปลวไฟ |
รับน้ำหนักสินค้าได้ดี | |
สามารถสั่งผลิตพิมพ์ลาย พิมพ์โลโก้เพิ่มมูลค่าแบรนด์ | |
มีราคาที่ย่อมเยาว์ ช่วยลดต้นทุน | |
เหมาะกับผู้ประกอบการ รูปแบบกล่องมีหลายแบบ |
กล่องโฟม มีข้อดีและข้อเสียอย่างไร ดังนี้
ข้อดี | ข้อเสีย |
---|---|
สามารถรักษาอุณภูมิได้ดี | ย่อยสลายยาก อาจทำให้เกิดปัญหาเรื่องขยะและมลพิษ |
มีน้ำหนักเบา | อาจก่อให้เกิดสารตกค้าง ในอาหารหรือสิ่งของที่บรรจุ |
กันการกระแทกได้ดี เหมาะกับการขนส่ง | อาจก่อให้เกิดปัญหาเรื่องขยะในสังคม |
มีราคาที่ย่อมเยาว์ | ไม่เหมาะกับบรรจุอาหารที่มีความร้อนสูง อาจจะทำให้เกิดการตกค้างของสารเคมีเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค |
สามารถนำไปตัดแต่งดัดแปลงเป็นงานศิลปะได้ | กล่องโฟมมีกระบวนการผลิตที่มีสารเคมีที่เป็นอันตรายผสมอยู่ |
แนะนำ บรรจุภัณฑ์กระดาษจาก โรงงานหงส์ไทย
นอกจากกล่องโฟมที่ใช้บรรจุสิ่งของชนิดต่างๆแล้ว อีกบรรจุภัณฑ์ที่เป็นที่นิยมในการใช้บรรจุอาหารได้อย่างปลอดภัย จากโรงงานหงส์ไทย คือกล่องกระดาษรูปแบบต่างๆ อาทิเช่น กล่องไฮบริด กล่องกระดาษคราฟท์ กล่องกระดาษลูกฟูกเกรดที่สามารถสัมผัสอาหารได้โดยตรงอย่างปลอดภัย และกล่องกล่องดาษที่ผู้เขียนแนะนำมีอะไรบ้าง ยกตัวอย่างเช่น
กล่องที่เหมาะกับอาหารคาว
- กล่องอาหาร สีน้ำตาล 1200 ml (Size M) กระดาษคราฟท์ food grade สำหรับใส่อาหาร กับข้าว ของหวานได้
- กล่องใส่อาหาร To go กล่องเบนโตะ ทรงกว้าง 49 ออนซ์การผลิตระดับมาตรฐานสากล Food pail ช่วยรักษาคุณภาพและรักษาอุณภูมิของอาหาร
- กล่องใส่อาหารทะเล (Size L) ขนาด 38x18x11.5 ซม. กล่องไดคัท die cut สีน้ำตาลธรรมชาติ(KT) น้ำหนักกล่องเบา ใช้สำหรับอาหารทะเลเผา เซตอาหาร
กล่องที่เหมาะกับบรรจุขนม เบอเกอรี่
- กล่องกระดาษคราฟท์ สี่เหลี่ยมผืนผ้า ลายดอกไม้ กระดาษคราฟท์หนา 300 แกรม สำหรับใส่ขนมเบกอรี่ เช่น ลูกชุบ ขนมบ้าบิ่น ฯลฯ
- กล่องคุกกี้ มีหน้าต่างและหูหิ้ว ทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส กระดาษ GDB หนา 400 แกรม (0.318 มม.) สำหรับใช้เป็นกล่องใส่เบเกอรี่ เช่น คุ้กกี้ ขนมปังกรอบ ของชำร่วย
- กล่องกระดาษคราฟท์ ทรงลิ้นชัก(ฝา+ตัว) HT1 ทำจากกระดาษคราฟท์ ผลิตจากเยื่อไม้สน 100 % ไม่มีเยื่อรีไซเคิลเป็นส่วนผสม กล่องกระดาษทรงสี่เหลี่ยม ทรงลิ้นชัก สามารถคงรูปได้ดี
สรุปเกี่ยวกับ กล่องกระดาษ และ กล่องโฟม ได้ว่าการเลือกใช้กล่องประเภทใดก็ตามแต่ สิ่งที่ควรคำนึงคือต้องเหมาะสมกับสินค้าของเราและปลอดภัยต่อผู้บริโภค รวมไปถึงต้องเป็นสินค้าที่ได้มาตรฐานจากโรงงานที่มีกระบวนการผลิตที่ทันสมัยและมีคุณภาพ
ดังนั้นจากหัวข้อเบื้องต้นในบทความน่าจะทำให้ผู้ที่สนใจทราบว่าบรรจุภัณฑ์ทั้งสองประเภทมีข้อดีและข้อเสียอย่างไรเพื่อนำไปใช้กับธุรกิจของท่านให้เหมาะสม สุดท้ายนี้หวังว่าบทความชุดนี้จะให้ประโยชน์ไม่มากก็น้อยสำหรับผู้ที่สนใจในกล่องกระดาษ และ กล่องโฟม กันนะครับ